ปรับแต่งการตั้งค่าความยินยอมการใช้งานคุกกี้
Always Active

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาเพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

No cookies to display.

         เว็บไซต์ที่ท่านเข้าชมอาจมีการจัดเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้หรือเทคโนโลยีที่คล้ายกัน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่าน อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสบการณ์ และความพึงพอใจในการใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา สามารถส่งมอบบริการและการประชาสัมพันธ์ได้ตรงตามสิ่งที่ท่านสนใจ
          แต่ละเว็บไซต์อาจมีการใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน โดยท่านสามารถดูได้จากรายละเอียดของคุกกี้ที่มีการใช้งานและสามารถที่จะปฏิเสธการใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการ

No cookies to display.

นโยบาย

คำแถลงนโยบายองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
นโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา


จังหวัดยะลาต้องการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ด้วยแนวคิดของนโยบายใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งข้อมูล ความรอบรู้และสติปัญญา ที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา และทันโลกทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ประชาชนทุกระดับได้รับความเดือดร้อน อันเกิดจากการมีรายได้ไม่เพียงพอกับ รายจ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของคนในจังหวัดตกต่ำ จึงตั้งเป้าหมาย ที่จะดำเนินนโยบาย เพื่อลดความยากจน และนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย นำไปสู่การพอมีพอกิน และเหลือจากนั้น จึงนำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารสามารถบรรลุถึงและดำเนินไปด้วยแนวทางที่กล่าวมาแล้ว จึงได้ กำหนดนโยบายดังต่อไปนี้

1. ด้านการบริหารจัดการ

1.1 สนับสนุนและส่งเสริมการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาล โดยยึดหลักการทำงานภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการ มีแผนปฏิบัติการที่แน่ชัด โปร่งใส สามารถตรวจสอบติดตามผลได้ในทุกขั้นตอน
1.2 สนับสนุนการบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เพื่อให้การบริหารจัดการบ้านเมืองของจังหวัดยะลา เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
1.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้เป็นศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีและการสื่อสารของท้องถิ่นทุกรูปแบบ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล

1.4 เร่งรัดพัฒนาระบบราชการและยุทธศาสตร์กำลังคน เพื่อให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ และจิตสำนึกในการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล รวดเร็วทันเวลา ตรงตามความต้องการของประชาชน
1.5 ให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการพัฒนาจังหวัดในทุก ๆ ด้าน
1.6 มุ่งเน้นการปฏิบัติงานในเชิงรุก โดยจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัดและคุ้มค่า
2. ด้านการพัฒนา “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” และแก้ไขปัญหาของประชาชน
2.1 แนวนโยบายทั่วไป คือมุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยยึดหลักว่า “การสร้างความเจริญต้องคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
2.2 สนับสนุนการพัฒนาภายใต้นโยบายของกระทรวงมหาดไทย และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2.3 นโยบายการพัฒนาเฉพาะด้าน แยกได้ดังนี้

1. พัฒนาด้านการบริการและการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว คือ หนทางสำคัญของการนำรายได้กระแสเงินสดเข้าสู่จังหวัดและประเทศ จึงควรเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการให้บริการและการท่องเที่ยว และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการและการท่องเที่ยว ดังนี้
– ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ และส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนในท้องถิ่น
– สนันสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศและรายได้ของท้องถิ่น เช่น การท่องเที่ยว การศึกษาการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การกีฬาและนันทนาการ
– สนับสนุนให้มีการเร่งพัฒนาผู้ประกอบการด้านบริการให้มีความรู้ และทักษะทั้งด้านภาษา มาตรฐานการบริการและการจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
– เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ยะลาเป็นประตูผ่านหลักของการท่องเที่ยวในด้านการตลาด การขนส่ง การลงทุน การบริหารจัดการรวมถึงการขจัดอุปสรรคในการท่องเที่ยว
– บริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก โดยสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ เชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและธุรกิจชุมชน พัฒนาคุณภาพบริการท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบมาตรฐาน
– เร่งพัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดกและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง เพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ สร้างแหล่งจับจ่ายซื้อขายสินค้าของนักท่องเที่ยว โดยจะส่งเสริมบทบาทเอกชนร่วมกับชุมชนในการรักษาแหล่งท่องเที่ยว และวิถีชีวิตให้อยู่ในสภาพเดิมอย่างต่อเนื่อง
– เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม โดยส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว
– เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง

2. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมอาชีพของประชาชน

– จะสนับสนุนส่งเสริมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชน การเกษตรอินทรีย์ การส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าและอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนให้สูงขึ้นทุกปี รวมถึงการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น
– ส่งเสริมการจัดตั้งตลาดกลางการเกษตรเพื่อส่งเสริมสินค้าของชุมชน
– ส่งเสริมจัดตั้งกองทุนผู้มีฐานะยากจน เพื่อส่งเสริมให้สามารถประกอบอาชีพ และพึ่งตนเองได้
– ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์อาหาร HALAL เพื่อขยายตลาดการค้า และเพิ่มโอกาสให้ประชาชน ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้สถานที่ดังกล่าว เป็นลานวัฒนธรรมของจังหวัดยะลา
– สนับสนุนส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ SMEs
– ส่งเสริมการค้าชายแดน
– ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว (ไม่ผลและไม้ดอก)

3. ด้านการศึกษา ศาสนา สังคม วัฒนธรรม สังคมสงเคราะห์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

– จะให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาทุกศาสนา การส่งเสริมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อบรรลุสู่ความเป็น “บ้านเมืองน่าอยู่” และการ “เชิดชูคุณธรรม” เพื่อทำให้จังหวัดยะลาเป็น “สังคมแห่งความสมานฉันท์และการเอื้ออาทร”
– ส่งเสริมและสนับสนุนจารีตประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น
– สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
– ให้มีการจัดตั้งกองทุนเกี่ยวกับการศึกษาให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ในแต่ละเขตพื้นที่ อบจ. 24 เขต ๆ ละ 1 ทุน
– สนับสนุนการจัดการศึกษาภาษาที่สอง เพื่อสามารถสื่อสารรองรับธุรกิจการค้าชายแดน และภาคบริการ
– การสร้างความเป็นเลิศแก่เยาวชน สนับสนุนส่งเสริมบุคคลผู้ทำความดีแก่สังคม
– การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน

4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

– ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคมขนส่งและสื่อสาร บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนการผลิต การสร้างงานและสร้างรายได้ในท้องถิ่น
– พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันสมัยและทั่วถึง เพื่อประโยชน์ในการรับส่งข่าวสาร การติดต่อสารสนเทศต่าง ๆ ไปสู่ประชาชน เชื่อมโยงกับต่างประเทศ และรองรับต่อการเปิดเสรีในธุรกิจโทรคมนาคม
– จะสนับสนุนการสร้างและบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ให้ทั่วถึง
– จัดให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง
– จัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
– จัดให้มีการบำรุงทางระบายน้ำ
– จัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

5. ด้านการกีฬา และนันทนาการ

– ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาระดับชุมชนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่กีฬาเพื่อสุขภาพ และกีฬาเพื่อความเป็นเลิศยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา
– ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาระดับประเทศ และระดับนานาชาติอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศ และความภูมิใจของประชาชน ตลอดจนส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อกีฬา
– จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
– สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ

6. ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

– สนับสนุนและส่งเสริมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้นโยบายเร่งด่วน โดยหลักการป้องกันนำหน้าการปราบปราม ผู้เสพต้องได้รับการรักษา ผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษ

7. ด้านสาธารณสุข

– สนับสนุนการสร้างสุขภาพของประชาชน โดยเน้นหลักการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
– สนับสนุนนโยบายการประกันสุขภาพและคุ้มครองด้านสุขภาพของประชาชนให้ได้มาตรฐาน
– สนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคและสิ่งเสพติด ที่ก่อให้เกิดปัญหากระทบต่อสังคมอย่างจริงจังในเชิงรุก

8. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไป การนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต เกิดความสมดุลในการพัฒนา และเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรฐกิจและและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ดังนี้

(1) บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรวม และการดูแลระบบน้ำเสียรวม โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ในการควบคุมและกำจัด มลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
(3) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของคนไทย สำหรับการแสวงการบริการจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทุกแหล่ง รวมถึงการนำสิ่งของหรือเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่