ปรับแต่งการตั้งค่าความยินยอมการใช้งานคุกกี้
Always Active

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาเพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

No cookies to display.

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

No cookies to display.

         เว็บไซต์ที่ท่านเข้าชมอาจมีการจัดเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้หรือเทคโนโลยีที่คล้ายกัน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่าน อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสบการณ์ และความพึงพอใจในการใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา สามารถส่งมอบบริการและการประชาสัมพันธ์ได้ตรงตามสิ่งที่ท่านสนใจ
          แต่ละเว็บไซต์อาจมีการใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน โดยท่านสามารถดูได้จากรายละเอียดของคุกกี้ที่มีการใช้งานและสามารถที่จะปฏิเสธการใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการ

No cookies to display.

สำนักงาน คปภ. เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567

53

สำนักงาน คปภ. เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เดินหน้าตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เพื่อผลักดันให้เกษตรกรไทยมีเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการประกันภัยข้าวนาปี ซึ่งสำนักงาน คปภ. เป็นหนึ่งในหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2554 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัย รวมถึงการอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัย นอกจากนี้ ภารกิจหน้าที่สำคัญคือ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 ผ่านโครงการ “ส่งเสริมความรู้โครงการประกันภัยข้าวนาปี” เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร รวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการประกันภัยข้าวนาปีในการเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 แบ่งการรับประกันภัยเป็น 2 ส่วน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

– การประกันภัยส่วนแรก หรือการประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) ให้ความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ภัยลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยจากช้างป่า วงเงินความคุ้มครอง 1,190 บาทต่อไร่ และให้ความคุ้มครองภัยจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด วงเงินความคุ้มครอง 595 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. จะได้รับการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยทั้งหมดจากรัฐบาลและ ธ.ก.ส. สำหรับเกษตรกรทั่วไปจะชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามพื้นที่ความเสี่ยง โดยในปีการผลิต 2567 นี้ จะให้ความสำคัญกับพื้นที่นำร่องในพื้นที่ความเสี่ยงภัยต่ำ (พื้นที่สีเขียว) จำนวน 689 อำเภอ เป้าหมายรวม 5 ล้านไร่ โดยเกษตรกรจะชำระค่าเบี้ยประกันภัยเพียง 5 บาทต่อไร่

– การประกันภัยส่วนเพิ่ม (Tier 2) โดยเกษตรกรสามารถซื้อประกันภัยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมจากการประกันภัยพื้นฐาน สำหรับภัยธรรมชาติ 7 ภัย จะรับความคุ้มครอง 240 บาทต่อไร่ และกรณีภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดจะได้รับความคุ้มครอง 120 บาทต่อไร่

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official Account @OICCONNECT หรือสายด่วน คปภ. 1186 รวมทั้งสามารถขอเอาประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ แอปพลิเคชัน A Insure นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมมากกว่า 20 แห่ง ในการเผยแพร่ข้อมูลโครงการในทุกช่องทาง ในรูปแบบเรดิโอสปอต แผ่นพับความรู้ฉบับพิมพ์และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ และคลิปวีดิทัศน์

สำนักงาน คปภ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการประกันภัยข้าวนาปี จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวนาไทย และทำให้เกษตรกรเล็งเห็นถึงความสำคัญของการประกันภัยมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิรูปนโยบายการประกันภัยพืชผล ซึ่งนำไปสู่การสร้างความมั่นคงในชีวิตและยกระดับรายได้ของเกษตรกรในประเทศต่อไป